Project Description

โรคไข้หวัดใหญ่ (พญ.กัญญวิสาข์ ตั้งกิจวณิชเจริญ – อายุรกรรมโรคติดเชื้อ)

โรคไข้หวัดใหญ่ที่พบได้ตามฤดูกาล เกิดจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A สายพันธุ์ B และ สายพันธุ์ C โดยแต่ละสายพันธุ์จะแบ่งเป็นสายพันธุ์ย่อย เช่น ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A จะแบ่งย่อยออกเป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H1A, H3n2, H5n1 หรือที่รู้จักกันในนาม ไข้หวัดนก เป็นต้น

อาการของโรคไข้หวัด

ผู้ป่วยจะมีอาการเป็นไข้ และมีไข้สูงหลายวัน รวมไปถึงอาการอื่นๆ ได้แก่ อาการไอ เจ็บคอ คัดจมูก ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามร่างกาย และอาจรวมไปถึงอาการท้องเสีย

การติดต่อของโรคไข้หวัดใหญ่

ผู้ป่วยจะติดต่อได้จากการไอ จาม หรือรับเชื้อจากละอองฝอยจากผู้ที่ติดเชื้อ

การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่

บุคคลกลุ่มเสี่ยงที่ควรฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไต หรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง รวมไปถึงผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ผู้ที่มีภาวะโภชนาการเกิน และสตรีที่ตั้งครรภ์

เนื่องจากไวรัสมีการเปลี่ยนแปลงทุกปี ดังนั้นจึงควรฉีดเป็นประจำทุกปี ก่อนจะมีการระบาดของโรค หรือก่อนฤดูฝน ซึ่งช่วงเวลาที่แนะนำให้ฉีด คือ ช่วงกลางปี

ข้อห้ามของวัคซีนไข้หวัดใหญ่

ผู้ที่มีประวัติแพ้ไข้ หรือแพ้สารประกอบในวัคซีน รวมไปถึงผู้ที่มีประวัติเป็นโรคทางระบบประสาท เช่น กลุ่มอาการ “กิลแลงบาร์เร” จะไม่สามารถฉีดวัคซีนได้

วิธีดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคไข้หวัดใหญ่

ผู้ป่วยควรให้ร่างกายได้พักผ่อน ดื่มน้ำมากๆ และรับประทานยาลดไข้เมื่อมีอาการ หรือรับประทานยาลดน้ำมูกเมื่อมีอาการคัดจมูก ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้นภายใน 2 วัน หรือมีอาการไอ หอบ เหนื่อย เจ็บหน้าอก อ่อนเพลียมาก และรับประทานอาหารไม่ได้ ควรรีบมาพบแพทย์