Project Description
ภาวะเลือดออกขณะตั้งครรภ์ (นพ.จริน กิติการอำพล – สูตินารีแพทย์)
การตั้งครรภ์แบ่งออกเป็น 3 ไตรมาส ได้แก่ ไตรมาสที่ 1 คือ 12 สัปดาห์แรก ไตรมาสที่ 2 คือ 13-27 สัปดาห์ และไตรมาสที่ 3 ตือ 28-40 สัปดาห์ สำหรับภาวะเลือดออกในไตรมาสแรก นอกจากการแท้งยังมีสาเหตุอื่นๆที่ผู้ป่วยต้องมาปรึกษาแพทย์
สาเหตุการเกิดเลือดออกขณะตั้งครรภ์
นอกจากการแท้ง ยังมีสาเหตุอื่นที่รุนแรงและอาจเสียชีวิตได้ คือ การท้องนอกมดลูก และการตั้งครรภ์ไข่ปะอุก นอกจากนี้ สาเหตุที่ไม่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ เช่น เลือดอาจออกจากทางเดินปัสสาวะ เลือดออกจากริดสีดวงทวาร เลือดออกจากช่องคลอดส่วนล่าง หรือมีติ่งเนื้อ/รอบรั่วที่ปากมดลูก
ขั้นตอนการวินิจฉัย
แพทย์จะเริ่มจากการซักประวัติ ตั้งแต่เรื่องประจำเดือน ประวัติการคุมกำเนิด การแท้งหรือการผ่าตัดปีกมดลูก และลักษณะของเลือดที่ออก หากเลือกออกน้อยยังไม่น่ากังวล แต่หากเลือดออกมาก เป็นก้อนหรือลิ่มเลือดที่ต้องใช้ผ้าอนามัย 3 แผ่นขึ้นไป และอาการร่วมอื่นๆ เช่น การปวดท้องรุนแรงมาก ผู้ป่วยต้องรีบมาโรงพยาบาล
นอกจากการซักประวัติ แพทย์จะทำการตรวจร่างกาย เพื่อสังเกตลักษณะของอาการปวดโดยดูสัญญาณชีพจร เพราะหากเป็นการท้องนอกมดลูก ผู้ป่วยจะมีความดันโลหิตต่ำมาก อาจเกิดภาวะช็อคได้ รวมไปถึงการตรวจภายในเพื่อดูลักษณะเลือดที่ออก สังเกตการเปิดของปากมดลูกหรือสังเกตชิ้นเนื้อบริเวณปากมดลูก ซึ่งทางโรงพยาบาลมีเครื่อง Ultrasound หรือเครื่องตรวจความถี่สูง ซึ่งสามารถวินิจฉัยได้เร็วขึ้น สามารถแยกการท้องนอกมดลูกและการตั้งครรภ์ไข่ปะอุกได้
การรักษาภาวะครรภ์ผิดปกติ
การรักษานั้นขึ้นอยู่กับแต่ละภาวะ หากเป็นการแท้ง แพทย์จะตรวจภายในและ ultrasound เพื่อให้ทราบลักษณะของการแท้ง เนื่องจากการแท้งมีหลายลักษณะ ได้แก่ การแท้งคุกคาม ซึ่งยังสามารถตั้งครรภ์ต่อได้ โดยแพทย์ให้ฮอร์โมนป้องกันการแท้งและให้ผู้ป่วยพักผ่อน หลีกเลี่ยงการยกของหนักหรือทำงานหนัก ส่วนการแท้งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แท้งไม่ครบหรือแท้งแล้ว แพทย์จะรักษาโดยให้ยาเพื่อยุติการตั้งครรภ์
ส่วนการท้องนอกมดลูก มีหลายระดับ ตั้งแต่ถุงครรภ์ยังไม่มีการแตกแพทย์จะให้ยาเพื่อให้ถุงครรภ์นั้นฝ่อไป หากมีการแตกก็จะต้องเป็นการผ่าตัดฉุกเฉิน สำหรับการตั้งครรภ์ไข่ปะอุก แพทย์จะวินิจฉัยโดยการขูดมดลูก และใช้เครื่องสุญญากาศเพื่อนำชิ้นเนื้อไปตรวจ จากนั้นรักษาโดยการให้เคมีบำบัด
แนวทางการป้องกันภาวการณ์แท้ง
การแท้งเกิดได้จากหลายสาเหตุ ในส่วนของความปิดปกติในทารกหรือรก เป็นสาเหตุไม่สามารถป้องกันได้ ส่วนสาเหตุที่สามารถป้องกันได้ คือ การตรวจภายในของแม่ โดย ultrasound เพื่อตรวจดูเนื้องอก หรือความผิดปกติของมดลูก และตรวจโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคทางฮอร์โมน
สาเหตุและการป้องกันการท้องนอกมดลูก
ส่วนมากการท้องนอกมดลูกจะเกิดจากสาเหตุที่ปีกมดลูก ไม่ว่าจะเป็นการติดเชื้อที่อุ้งเชิงกราน ปีกมดลูกอักเสบ หรือเคยผ่าตัดมดลูกมาก่อน การป้องกัน คือ รักษา หากปีกมดลูกอักเสบต้องทำการรักษาให้หายขาด เมื่อทราบว่าตั้งครรภ์ต้องรีบทำการฝากครรภ์ และหากมีเลือดออกในช่วง 3 เดือนแรก ผู้ป่วยต้องรีบมาพบแพทย์