Project Description
ภาวะครรภ์เป็นพิษ (นพ.จริน กิติการอำพล สูตินารีแพทย์)
เป็นภาวะที่หญิงตั้งครรภ์มีความดันโลหิตสูง (ความดันตัวแรกเกิน 140 และตัวหลังเกิน 90 มิลลิเมตรปรอท) และมีไข่ขาวหรือว่าโปรตีนในปัสสาวะ ซึ่งความดันโลหิตสูงในหญิงตั้งครรภ์มีหลายประเภท
1. ผู้ป่วยที่ตั้งครรภ์เป็นโรคประจำตัวมาก่อน
2. ผู้ป่วยเป็นความดันโลหิตสูงในขณะตั้งครรภ์จนหลังคลอด โดยไม่มีไข่ขาวหรือโปรตีนในปัสสาวะ
3. ครรภ์เป็นพิษ ซึ่งเชื่อว่ามีความเกี่ยวข้องกับรก และความผิดปกติของรกที่มีการหลั่งสารเคมีบางอย่างที่ทำให้หลอดเลือดรัดตัวมากผิดปกติ ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น
ปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ อายุ คือ หญิงตั้งครรภ์ที่อายุน้อยในช่วงวัยรุ่นหรือหญิงที่อายุ 35 ปีขึ้นไป การตั้งครรภ์แฝด หรือตั้งครรภ์ขณะมีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ไทรอย โรคเกี่ยวกับผู้คุ้มกัน มีประวัติครรภ์เป็นพิษมาก่อน มีประวัติคนในครอบครัวมีความดันโลหิตสูง หรือมีปัจจัยเสี่ยงภาวะอ้วน
อาการและสัญญาณอัตรายของภาวะครรภ์เป็นพิษ
ภาวะครรภ์เป็นพิษจะไม่มีอาการ แพทย์สามารถวินิจฉัยได้ต่อเมื่อทราบความดันของผู้ป่วย หรือทราบผลตรวจปัสสาวะ จะสังเกตอาการได้เมื่อโรครุนแรงขึ้น อาการที่พบบ่อย ได้แก่ ปวดหัว ตาพร่ามัว มีอาการจุกแน่นที่ลิ้นปี่ หากรุนแรงกว่านั้นคือผู้ป่วยมีอาการชักกะตุก ซึ่งเป็นอาการที่สายเกินไปแล้ว
การวินิจฉัยและการรักษา
หากผู้ป่วยมีความดันโลหิตสูง โดยความดันตัวแรกเกิน 140 ตัวที่ 2 มากกว่าหรือเท่ากับ 90 มิลลิเมตรปรอท ส่วนกรณีที่มีไข่ขาวหรือโปรตีนในปัสสาวะ ต้องมีการทำความสะอาดช่องคลอดของผู้ป่วย จากนั้นเก็บปัสสาวะของผู้ป่วยในช่วงกลางๆ จากนั้นหากวินิจฉัยว่าครรภ์เป็นพิษ ต้องรีบทำการรักษา โดยมี 3 หลักใหญ่ๆ ได้แก่
1. การให้ยากันชัก เนื่องจากผู้ป่วยครรภ์เป็นพิษ มีความเสี่ยงเล็กน้อยที่จะเกิดอาหารชัก ซึ่งจะทำให้คุณแม่มีภาวะขาดออกซิเจน และส่งผลต่อเด็กในครรภ์
2. การให้ยาลดความดันโลหิต โดยแพทย์จะเลือกยาที่เหมาะสมเพื่อให้ความดันของผู้ป่วยอยู่ในระดับที่ปลอดภัย
3. ยุติการตั้งครรภ์หรือการให้คลอด ซึ่งขึ้นอยู่กับอายุครรภ์ของผู้ป่วย เนื่องจากภาวะครรภ์เป็นพิษมักก่อให้เกิดการคลอดก่อนกำหนด เพราะฉะนั้นแพทย์จจะให้ยากระตุ้นปอดของเด็กในครรภ์อย่างน้อย 2 วัน
วิธีการยุติการตั้งครรภ์ในกรณีครรภ์เป็นพิษรุนแรง
มี 2 ทางเลือก คือ ให้ผู้ป่วยคลอดเอง หรือผ่าตัดคลอดฉุกเฉิน ซึ่งส่วนมากผู้ป่วยจะไม่มีอาการเจ็บครรภ์ ดังนั้นจึงมีโอกาสคลอดเองค่อนข้างน้อย เนื่องจากการเจ็บครรภ์จะกระตุ้นให้ความดันสูงขึ้นเรื่อยๆ หากอายุครรภ์ก่อนครบกำหนดคลอด แพทย์จะให้ยากระตุ้นปอดเด็กในครรภ์ ในกรณีที่ครรภ์เกิน 37 สัปดาห์ หรือครบกำหนดคลอด แพทย์จะให้ยุติการตั้งครรภ์หรือให้คลอดทันที
ความสำคัญของการฝากครรภ์
การฝากครรภ์เป็นการป้องกันโรคภาวะแทรกซ้อนต่างๆ โดยเฉพาะครรภ์เป็นพิษ ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆของผู้ที่ตั้งครรภ์ ข้อดีของการฝากครรภ์ คือ ได้รับการตรวจความดันโลหิตสูง ได้รับการตรวจร่างกายและตรวจทารกในครรภ์ หากมีภาวะเสี่ยง แพทย์จะให้คำแนะนำอย่างถูกต้อง