Project Description
โรคโลหิตจาง (นพ.กิตติไกร ไกรแก้ว อายุรแพทย์โรคเลือด)
โรคโลหิตจาง หรือโรคซีด เกิดได้จาก 2 สาเหตุ
1. ร่างกายไม่สามารถสร้างเม็ดเลือดได้ด้วยสาเหตุใดๆก็ตาม ทำให้เลือดน้อยลง
2. เม็ดเลือดแดงหรือร่างกายถูกทำลายมากกว่าปกติ ทำให้เลือดจางลง
กลุ่มเสี่ยงเป็นโรคโลหิตจาง
1. ร่างกายสร้างเม็ดเลือดได้น้อยลง เกิดจากการขาดธาตุเหล็กหรือเสียเลือดเรื้อรัง ผู้ที่มีความเสี่ยง คือ ผู้ที่มีประวัติถ่ายหรืออาเจียนเป็นเลือด สตรีที่มีประจำเดือนมากกว่าปกติทุกเดือน ทำให้เกิดการเสียเลือดและไม่สามารถสร้างขึ้นมาได้เพียงพอ
2. เม็ดเลือดแดงแตกสลายง่ายกว่าปกติ หรือเลือดจาง เรียกว่า Hemolytic โรคที่พบบ่อยในประเทศไทย คือ โรค Thalassemia ซึ่งมีผู้ป่วยที่จะแสดงอาการเพียงประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ และระดับความรุนแรงจะแตกต่างกัน
ข้อดีของการตรวขสุขภาพก่อนแต่งงาน
เนื่องจากโรคโลหิตจางเป็นโรคพันธุกรรม เนื่องจากผู้ป่วยบางคนเป็นแค่พันธุกรรมแฝง แพทย์จะทำการพิจารณาความเสี่ยงที่ลูกจะเป็นโรค Thalassemia อย่างรุนแรง อาการจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม
1. ผู้ป่วยไม่มีอาการ จะมีแค่การตรวจความปิดปกติทางพันธุกรรมในเลือด หรือ Thalassemia แฝง จะไม่พบอาการใดๆนอกจากจะตรวจพิเศษ หรือ Hemoglobin Typing
2. ผู้ป่วยที่มีอาการ หรือโรคเลือดจาง ผู้ป่วยจะมีอาการเหนื่อยง่าย ซีด ตาเหลือง บางคนมีตัย-ม้ามโต ในกรณีที่รุนแรงอาจมีปัญหาเรื่องการเจริญเติบโต คือ ตัวแคระแกรม หรือเสียชีวิตเร็วกว่าปกติ
โรคเลือดจาง Thalassemia และการปฏิบัติตน
1. ผู้ป่วยต้องหลีกเลี่ยงอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เนื่องจากความจางของเลือดจะต่างจากผู้อื่น เนื่องจากผู้ป่วยโรค Thalassemia มีธาตุเหล็กเพียงพอหรือมากเกิน
2. รับประทานยาชนิดบำรุงเลือด Folic Floic คือ ยาบำรุงเลือดสำหรับผู้ป่วยโรค Thalassemia โดยเฉพาะ
3. การดูแลตัวเอง หากร่างกายของผู้ป่วยเครียด จะทำให้โรคเลือดจางเป็นมากขึ้น ควรพักผ่อน และหลีกเลี่ยงการทำงานหักโหม ออกกำลังกายพอสมควร
การป้องกันและคำแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคเลือดจาง
Thalassemia ไม่สามารถป้องกันการเกิดซ้ำได้ แต่ผู้ป่วยสามารถป้องกันการกำเริบได้