Project Description

 

มะเร็งเต้านม  (นพ.สถิตย์วงศ์  ชยางศุ  ศัลยกรรมทั่วไป)

ในประเทศไทย พบมะเร็งเต้านมได้บ่อยเป็นอันดับ 2 และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 2 ในผู้หญิง รองจากมะเร็งในปากมดลูก

สาหตุการเกิดมะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านม เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เยื่อบุของท่อน้ำนม ซึ่งเกิดขึ้นมาเองโดยไม่มีสาเหตุ แต่มีปัจจัยเสี่ยงในการเกิด ได้แก่

1. พันธุกรรม ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวโดยเป็นญาติสายตรงเป็นมะเร็ง ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป หมายความว่ามียีนต์ที่ถูกถ่ายทอดมา ฉะนั้นจะมีโอกาสเป็นมะเร็งสูงขึ้น

2. อาหาร การสัมผัส และฮอร์โมน ผู้ที่มีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านม คือผู้หญิงที่มีประจำเดือน อายุนัอย และมีประจำเดือนจนอายุมาก ได้แก่ ผู้ที่ประจำเดือนหมดช้า และผู้ที่ทานฮอร์โมนติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน เนื่องจากฮอร์โมนเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ต่อมท่อน้ำนม ทำให้เกิดการพัฒนาหลายเป็นมะเร็งได้

อาการของมะเร็งเต้านม

ในระยะแรกจะไม่มีอาการบ่งชี้ใดๆ ผู้ป่วยที่มีก้อนจะไม่รู้สึกเจ็บ ซึ่งเป็นปัญหาทำให้ผู้ป่วยไม่ทราบ และไม่ได้มาพบแพทย์ ก้อนในเต้านม มี 2 ชนิด ได้แก่

1. ซีส คือ ถุงน้ำที่มาพร้อมอาการปวด ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยมาพบแพทย์ แต่โดยส่วนใหญ่ซีสพวกนี้จะไม่กลายเป็นมะเร็ง

2. เนื้องอก และมะเร็ง จะเป็นก้อนที่ไม่มีอาการปวด ปัญหา คือ กว่าจะทราบว่าเป็นก้อน ก้อนก็มีขนาดค่อนข้างใหญ่พอสมควร

การตรวจวินิจฉัย

ผู้หญิงควรตรวจเช็คร่างกายตัวเองเป็นประจำทุกเดือน โดยตรวจหลังจากหมดประจำเดือน 7 วัน เนื่องจากช่วงเวลาที่มีประจำเดือนเต้านมจะคัดและตึงมาก ทำให้โอกาสที่จะคลำเจอก้อนค่อนข้างยาก

วิธีตรวจ คือ ให้คลำเต้านมเป็นวงกลมจากฐาน โดยนอนหงายยกแขนขึ้นเหนือศีรษะ และคลำออกจากฐานหัวนมไปรอบๆ ไม่ใช่การบีบ เนื่องจากความรู้สึกจะบอกได้ยากว่ามีก้อนหรือไม่มี เมื่อคลำเจอ ให้ผู้ป่วยรีบมาพบแพทย์

และอีกตำแหน่งหนึ่งที่สำคัญ คือ บริเวณรักแร้ โดยการทำเอกซเรย์เต้านม และอัลตร้าซาวน์ ที่เรียกว่า แมมโมแกรม ข้อดี คือ สามารถพบมะเร็งได่ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ที่มือไม่สามารถคลำเจอได้  โดยการทำเอกซเรย์และอัลตร้าซาวน์มีความแม่นยำกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งแนะนำให้ผู้หญิงที่อายุ 40 ปีขึ้นไป ตรวจแมมโมแกรม อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง