Project Description
โรคมะเร็งรังไข่ (นพ.ทรงพล สนธิชัย – สูตินารีแพทย์ (เชี่ยวชาญด้านมะเร็งนรีเวช)
ผู้ป่วยโรคมะเร็งรังไข่ มีอัตราการเสียชีวิตมากที่สุด 50 เปอร์เซ็นต์ มักพบในระยะแพร่กระจายมากกว่าระยะเริ่มต้น โดยในระยะแรกจะไม่มีอาการ ผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ในระยะที่ 3 และระยะที่ 4 มักมาด้วยอาการท้องโตขึ้นโดยไม่มีสาเหตุ มีน้ำในท้อง หรือคลำก้อนในท้องได้ และเบื่ออาหาร
บุคคลที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง
ปัจจุบันยังไม่มีสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดมะเร็งรังไข่ แต่ผู้หญิงที่มีญาติสายตรงที่มีประวัติเป็นมะเร็งรังไข่ จะมีความเสี่ยงประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ แต่หากเป็นตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป อัตราเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์
หากพบยีนส์ผิดปกติ ได้แก่ BRCA1, BRAC2 อยู่ในยีนส์ กลุ่มนี้จะพัฒนาเป็นมะเร็งรังไข่ได้ในอนาคต นอกเหนือจากความเสี่ยงมีมาจากคนในครอบครัว จะพบว่าผู้หญิงที่ไม่มีบุตร ไม่เคยใช้หรือฉีดยาคุมกำเนิด อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดมะเร็งรังไข่สูงกว่าผู้ที่เค้ยาคุมกำเนิด และกลุ่มที่มีบุตร
วิธีการรักษา
เมื่อตรวจพบ แพทย์จะทำการผ่าตัดให้ผู้ป่วย หากผู้ป่วยตั้งแต่ระยะ 1C ขึ้นไป ไม่สามารถผ่านำก้อนมะเร็งออกได้หมด เนื่องจากมะเร็งมีการลามหรือกินไปถึงอวัยวะสำคัญ หากมีการผ่าตัดอาจทำให้คนไข้เสียเลือดหรือมีผลข้างเคียงต่ออวัยวะ แพทย์จะใช้วิธีการตัดชิ้นเนื้อมา หลังจากนั้นจะเป็นการให้เคมีบำบัด โดยแพทย์จะให้เคมีบำบัดประมาณ 6 ครั้ง ทุก 3 สัปดาห์/ครั้ง
แนวทางการสังเกตและป้องกัน
1. การตรวจภายในประจำทุกปี สำหรับผู้ที่อยู่ในบุคลคลกลุ่มเสี่ยง หรือคิดว่าจะเป็นมะเร็งรังไข่ โดยนอกจากแพทย์จะตรวจมะเร็งปากช่องคลอดมดลูก จะยังมีการตรวจภายในโดยใช้นิ้วมือเข้าไปคลำ หากเจอก้อนอาจพบว่าเป็นมะเร็งเริ่มต้นได้
2. การตรวจอัลตร้าซาวน์ช่องคลาด เพื่อดูขนาดของรังไข่
3. ตรวจเลือด เพื่อหาค่ามะเร็ง หรือค่า C125 ซึ่งไม่ใช่ค่าที่จะปรากฏในผู้ป่วยมะเร็งทุกราย
เนื่องจากมะเร็งเต้านมไม่มีสาเหตุการเกิดที่แน่นอน จึงไม่สาเหตุป้องกันได้ เพียงแต่ควรมีการตรวจอัลตร้าซาวน์ประจำปี