โรค NCDs ย่อมาจาก Non-Communicable Diseases หรือเรียกว่า “โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง” เป็นโรคที่เกิดต่อเนื่องเป็นระยะยาวนาน และมีการดำเนินไปของโรคอย่างช้าๆ ไม่ได้มีสาเหตุจากการติดเชื้อ ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค ไม่ติดต่อผ่านการสัมผัส คลุกคลีกับตัวนำโรคหรือสารคัดหลั่งต่างๆ ไม่สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้

สาเหตุของการเกิดโรค NCDs

โรค NCDs (โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง) มีสาเหตุจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตเป็นสำคัญ คิดเป็นร้อยละ 80 ของการเกิดโรค พฤติกรรมเสี่ยงที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรค NCDs ได้แก่

  • ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  • สูบบุหรี่
  • ไม่ออกกำลังกาย
  • กินอาหารหวานมันเค็มจัดเป็นประจำ
  • ทานอาหารขึ้งย่างเป็นประจำ
  • ใช้ชีวิตด้วยความเครียดเป็นประจำ
  • นอนดึก พักผ่อนน้อย
  • ซื้อทานเองต่อเนื่องเป็นเวลานาน

ประเภทของโรค NCDs

  1. โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
    • โรคความดันโลหิตสูง
    • โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
    • โรคหลอดเลือดสมอง
    • โรคสมองเสื่อม
  2. โรคเบาหวาน โรคอ้วน
    • โรคไขมันในเส้นเลือด
    • ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง
    • โรคอ้วนลงพุง
  3. โรคมะเร็ง
    • โรคมะเร็งปอด
    • โรคมะเร็งตับ
    • โรคมะเร็งลำไส้
    • โรคมะเร็งเต้านม
    • โรคมะเร็งไต
    • โรคมะเร็งกล่องเสียง
    • โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
    • โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
  4. โรคระบบทางเดินหายใจ
    • โรคถุงลมโป่งพอง
    • โรคหอบหืด
    • โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

อาการบ่งชี้โรค NCDs

  1. โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
    • มีอาการเหนื่อยง่ายผิดปกติ หน้ามืด มักเป็นลมง่าย
    • พูดลำบาก ปากเบี้ยว
    • แขนอ่อนแรงเฉียบพลัน หรือใช้งานไม่ได้
    • ปวดหน้าอกข้างซ้าย ร้าวไปจนถึงแขนซ้าย โดยเฉพาะเวลาหลังการออกกำลังกาย
    • เดินเซ ใจสั่น หัวใจเต้นแรง
    • เส้นเลือดที่คอโป่งพอง
    • มีอาการท้องโต ตับโตผิดปกติ
    • ไอเป็นเลือดโดยไม่ทราบสาเหตุ
  2. โรคเบาหวาน โรคอ้วน
    • มีอาการปัสสาวะบ่อย กลางวันและกลางคืน
    • กระหายน้ำบ่อย อ่อนเพลีย และน้ำหนักลด
    • ตัวบวมรับประทานเก่งขึ้น
    • ผิวหนังติดเชื้อง่าย มีแผลที่หายยาก
  3. โรคมะเร็ง
    • ระบบขับถ่ายเปลี่ยนแปลง เช่น อุจจาระมีสีดำ ปัสสาวะปนเลือด
    • กลืนอาหารลำบากหรือมีอาการจุกเสียด
    • น้ำหนักลดเร็วผิดปกติ
    • มีเลือดออกจากช่องคลอด
    • มีก้อนที่เต้านมหรือส่วนต่างๆของร่างกาย
  4. โรคระบบทางเดินหายใจ
    • เป็นหวัด ไอ จาม มีเสมหะ
    • หายใจลำบาก หายใจติดขัด หายใจถี่
    • หายใจมีเสียงดัง
    • เหนื่อยง่าย น้ำหนักลด

การตรวจสุขภาพกับโรค NCDs

โรค NCDs หรือ โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรคนี้เป็นภัยเงียบที่คุกคามคนวัยทำงาน (อายุ 25 – 55 ปี) เป็นกลุ่มช่วงวัยที่มีความเสี่ยงสูงสุดของการมีปัญหาสุขภาพ เพราะมักมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่สมดุล ทั้งการกิน นอน พักผ่อน ออกกำลังกาย และการทำงาน ดังนั้น การตรวจสุขภาพเป็นประจำจึงช่วยให้สามารถตรวจคัดกรองและค้นหาความผิดปกติที่ซ่อนอยู่ในตัวได้

รายการตรวจสุขภาพ จะครอบคลุมตั้งแต่การตรวจร่างกายทั่วไป รวมถึงการซักประวัติเพื่อค้นหาความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด เบาหวาน โดยเฉพาะในชายอายุน้อยกว่า 55 ปี และหญิงอายุน้อยกว่า 65 ปี หรือมีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคดังกล่าว

นอกจากนี้ยังมีการตรวจการทำงานระบบต่างๆ ได้แก่ สุขภาพช่องปาก การได้ยิน การมองเห็น การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด การตรวจระดับไขมันในเลือด การตรวจระดับน้ำตาล แต่ในกรณีของเพศหญิง ถ้าอายุเกิน 30 ปีขึ้นไป ต้องได้รับการตรวจเต้านม และตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก